ชวนดูผลกระทบและแผนรับมือระดับชาติและท้องถิ่น
ภาวะโลกรวน (Climate Change) ส่งผลต่อมหาสมุทรและชายฝั่งอย่างไร?
November 12, 2024
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: จากภัยพิบัติบนฝั่งถึงวิกฤตใต้ทะเล
ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เพราะอุณหภูมิโลกสูงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลายเพิ่มทุกปี ทำให้คลื่นพายุซัดฝั่งรุนแรงขึ้น เกิดภัยพิบัติ (น้ำท่วม น้ำกัดเซาะชายฝั่ง ดินถล่ม) ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงตอนนี้ ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยสูงขึ้นเกือบ 23 เซนติเมตร
มหาสมุทรอุ่นขึ้น เพราะดูดซับความร้อนจากก๊าซเรือนกระจกถึง 90% เกิดปะการังฟอกขาว (อยู่ในน้ำอุ่น & มีค่ากรดสูงจนตาย) แนวปะการังอาจตายหมดภายในปี 2100
มหาสมุทรสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะอุณหภูมิโลกสูงขึ้น สัตว์น้ำย้ายถิ่นฐานหนีคลื่นน้ำอุ่น แนวปะการัง & ป่าชายเลนตาย ถ้าโลกร้อนขึ้น 1.5 เซลเซียส แนวปะการังอาจตายประมาณ 70-90% ถ้าโลกร้อนขึ้น 2 เซลเซียส แนวปะการังอาจตาย 100%
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: ชายฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปราะบางต่อโลกรวน
ใครได้รับผลกระทบจากมหาสมุทรเดือด?
- คนในภาคประมง & คนเลี้ยงสัตว์-พืชน้ำ 60 ล้านคน
- คนในพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 680 ล้านคน
- คนในมหานครติดชายฝั่ง 2 พันล้านคน
รู้หรือไม่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ 1 ในภูมิภาคที่เปราะบางที่สุด หลายเมืองอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ และเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
เมืองเกิ่นเทอ มหานครที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศเวียดนาม อาจจมน้ำถาวรภายในปี 2050
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: 24 จังหวัดชายทะเลไทยในภาวะโลกรวน
24 จังหวัดชายทะเลไทย
- ฝั่งอันดามัน 6 จังหวัด
- ฝั่งอ่าวไทย 18 จังหวัด
ถ้าภูมิอากาศยังรวนต่อ จังหวัดชายทะเลไทยจะเจอภัยพิบัติรุนแรง เช่น
- หน้าฝนแปรปรวน (ตกน้อย-หนัก-ถี่-ขาดช่วงกว่าปกติ)
- น้ำทะเลสูงขึ้น อุ่นขึ้น
- ค่ากรดของทะเลเพิ่มขึ้น
- สภาพอากาศสุดขั้ว
- สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: ที่อยู่ ปากท้อง และทรัพยากรในท้องทะเล
วิกฤติด้านที่อยู่อาศัย | วิกฤติทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ | วิกฤติทางเศรษฐกิจ |
ที่อยู่ โครงสร้างสาธารณูปโภคเสียหายในระยะยาวจากพายุ อุทกภัย และชายฝั่งโดนกัดเซาะ | ค่ากรดของทะเลที่เพิ่มขึ้นและผิวทะเลอุ่นที่ขึ้น ทำให้ปะการังฟอกขาว ทรัพยากรทางทะเลเสียหาย อัตราการเกิดของสัตว์น้ำลดลง | สภาพอากาศสุดขั้ว อุทกภัย การกัดเซาะริมชายฝั่ง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ต่างส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่พึ่งพิงหรือตั้งอยู่ริมทะเลและชายฝั่ง |
ภาคประมง ภาคท่องเที่ยว และภาคการเกษตรในจังหวัดชายทะเลล้วนเปราะบางเป็นพิเศษ เพราะสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: ตั้งรับ ยืดหยุ่น ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
ตั้งรับ ปรับตัวไปกับธรรมชาติคือทางรอดจากภาวะโลกรวน
ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า 1% ของทั้งโลก แต่ต้องเผชิญกับผลกระทบร้ายแรงจากภาวะโลกรวน เราจึงต้องเรียนรู้“การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (Climate Change Adaptation) คือการกระทำที่ลดความเปราะบางต่อผลกระทบของโลกรวน แม้ว่าถ้าเราสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ผลกระทบของโลกรวนจะยังกระทบต่อเราอีกหลายสิบปี เพราะความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว เราจึงต้องปรับตัวต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเพื่อปกป้องคนและธรรมชาติ ที่ต้องขับเคลื่อนจากระดับท้องถิ่น และผลักดันจากนโยบายระดับชาติ
การปรับตัวระดับท้องถิ่น ➠ เช่น ปลูกพืชหลากหลาย เกษตรกรรมที่ฟื้นฟูและบำรุงสุขภาพดิน ปรับปรุงระบบกักเก็บและใช้น้ำ บริหารพื้นที่เพื่อลดความเสี่ยงของไฟป่า
การปรับตัวระดับชาติและสากล ➠ นโยบายทุกด้านที่ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ย้ายโครงสร้างพื้นฐานออกจากพื้นที่เสี่ยง และสร้างให้ยืดหยุ่นและทนทานต่อสภาพอากาศสุดขั้ว กลไกประกันภัยที่ตอบโจทย์
รู้จัก Nature-Based Solutions (การแก้ปัญหาที่เนียนไปกับธรรมชาติ)
หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ช่วยให้ระบบนิเวศเข้มแข็ง รักษาสิ่งแวดล้อม และส่งผลดีต่อทั้งมนุษย์และความหลากหลายทางชีวภาพไปพร้อมๆ กันการแก้ปัญหาที่เนียนไปกับธรรมชาติ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ตัวอย่างการแก้ปัญหาที่เนียนไปกับธรรมชาติเพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อินโดนีเซีย: โครงการสินเชื่อไมโครเครดิตสำหรับการปลูกป่าชายเลนเพิ่ม เพื่อลดผลกระทบจากภัยทางทะเลต่อมนุษย์ และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
สหรัฐอเมริกา: โครงการฟื้นฟูตลิ่งป้องกันน้ำท่วม เพื่อลดผลกระทบต่อมนุษย์และที่อยู่อาศัยของสัตว์
เนเธอร์แลนด์: โครงการขยายความกว้างของแม่น้ำ เพิ่มอัตราการรองรับและระบายน้ำสู่ทะเล ช่วยลดอัตราเกิดอุทกภัย
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: 4 จังหวัดฝั่งอ่าวไทยปรับตัวต่อโลกรวนอย่างเข้าใจธรรมชาติ
4 จังหวัดริมฝั่งอ่าวไทยรับมือโลกรวนโดยใช้ธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง ระยอง เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา คือ 4 จังหวัดนำร่องโครงการ UNDP “การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งตามแนวอ่าวไทย”
โครงการ UNDP ทำอะไรบ้าง? สนับสนุน 4 จังหวัดริมฝั่งอ่าวไทยปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยสอดคล้องกับมิติที่ 5 ของแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ที่เน้น 6 มิติการปรับตัว
- การจัดการทรัพยากรน้ำ
- การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร
- การท่องเที่ยว
- สาธารณสุข
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
- การตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์
ทั้ง 6 มิตินี้สอดแทรกวิธีแก้ปัญหาที่เนียนไปกับธรรมชาติ (Nature-Based Solutions)เพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แผนการปรับตัวเป็นเหมือนเข็มทิศที่ช่วยชี้ว่าเราควรเดินไปในทางไหนต่อและเดินร่วมกับใคร เพื่อไม่ให้เราหลงทางท่ามกลางภูมิอากาศแปรปรวน
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: หากอยากปรับตัวให้รอด ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องอยู่ในนโยบาย มาตรการ งบประมาณ เป้าหมาย ของทุกภาคส่วน ทุกระดับ
ที่มา:
United Nations: How is climate change impacting the world’s ocean
UNDP Human Climate Horizons
UNDP: Climate Change Dictionary
UNDP: Solutions Snapshot of Nature-Based Solutions: Reinventing the Sphere of River Conservation, Malaysia
โครงการการสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งตามแนวอ่าวไทย