ระยอง เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา: แนวทาง 4 จังหวัดฝั่งอ่าวไทยปรับตัวต่อโลกรวน

November 14, 2024
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: รู้จักระบบนิเวศชายฝั่ง-ทางทะเล 4 จังหวัด 

ระยอง

ภาค: ตะวันออก

  • เนื้อที่: 3,552 ตร.กม.
  • ความยาวของชายฝั่งทะเล: 100 กม.
  • แนวปะการัง: 41.2% อยู่ในสภาพแข็งแรงปานกลาง 
  • แหล่งหญ้าทะเล: ส่วนมากอยู่ในสภาพแข็งแรงดี
  • พื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด: 31,722 ไร่ 
    • 35% เป็นป่าชายเลนที่คงสภาพสมบูรณ์ 

เพชรบุรี

  • ภาค: ตะวันตก
  • เนื้อที่: 6,225 ตร.กม.
  • ความยาวของชายฝั่งทะเล: 89 กม.
  • พื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด: 84,457 ไร่ 
    • 15% เป็นป่าชายเลนที่คงสภาพสมบูรณ์ 
    • 82% ถูกเปลี่ยนเป็นนากุ้ง นาเกลือ แปลงเกษตร และอื่นๆ

สุราษฎร์ธานี

  • ภาค: ใต้
  • เนื้อที่: 13,079 ตร.กม. ใหญ่ที่สุดในภาคใต้
  • ความยาวของชายฝั่งทะเล: 157 กม.
  • แนวปะการัง: 40.2% อยู่ในสภาพแข็งแรงปานกลาง 
  • แหล่งหญ้าทะเล: ส่วนมากอยู่ในสภาพแข็งแรงดี
  • พื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด: 92,840 ไร่
    • 50% เป็นป่าชายเลนเก่าแก่ 

สงขลา

  • ภาค: ใต้
  • เนื้อที่: 7,393 ตร.กม. 
map
 
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: เข้าใจบริบทสังคมเพื่อประเมินผลกระทบโลกรวน
 ระยองเพชรบุรีสุราษฎร์ธานีสงขลา
ประชากร

ประชากรแฝงมีจำนวนมาก อัตราการย้ายถิ่นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพราะเป็นจังหวัดอุตสาหกรรม

 

เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เด็กและอัตราการเกิดลดลง

มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ แต่ประชากรไม่หนาแน่น เพราะส่วนมากเป็นพื้นที่ธรรมชาติ 

 

ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

 

ประชากรเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่อาศัยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 2 ของภาคใต้ 

 

ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเกิดลดลง 

สภาพเมือง-ชุมชนประชากรส่วนใหญ่อาศัยกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เขตเมือง 

มีความเป็นเมืองสูง 

 

อัตราการขยายตัวของเมืองเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 

โครงสร้างพื้นฐานยังไม่ครอบคลุมทุกชุมชน
สิ่งแวดล้อม

มีปัญหาการจัดการขยะครัวเรือนและขยะจากภาคท่องเที่ยว

 

อุตสาหกรรมสร้างมลพิษ

 

แหล่งน้ำขาดแคลนในช่วงหน้าแล้ง

61% ของที่ดินจังหวัดเป็นพื้นที่ป่าไม้

 

พื้นที่เมืองขยายตัวอย่างไม่ยั่งยืน พื้นที่เกษตรหดหาย เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา

 

มีปัญหาภัยแล้ง

 

ชายฝั่งทางตอนเหนือมีพื้นที่นาจำนวนมาก

 

เกษตรกรไม่รวมตัวกันเป็นกลุ่ม ขาดความเข้มแข็ง

 

มีปัญหาการจัดการขยะและบำบัดน้ำเสีย

timeline
 
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: เข้าใจบริบทเศรษฐกิจเพื่อประเมินผลกระทบโลกรวน
 ระยองเพชรบุรีสุราษฎร์ธานีสงขลา
รายได้ต่อหัวเป็นจังหวัดขนาดเล็ก แต่มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดในประเทศ และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รายได้ต่อหัวต่ำขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้และเป็นลำดับที่ 16 ของประเทศ แต่รายได้ต่อหัวต่ำ
อัตราการว่างงานอัตราการว่างงานต่ำ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับปานกลาง - สูงในทุกอำเภออัตราการว่างงานสูง 
ภาคส่วนสำคัญ

ภาคอุตสาหกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัด

รายได้ครัวเรือนส่วนมากมาจากภาคอุตสาหกรรมและการเกษตร

เศรษฐกิจหลักของจังหวัดคือการเกษตรและประมง 

มีการท่องเที่ยวเชิงเกษตร แต่ยังต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับภาคท่องเที่ยว

มีศักยภาพเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมแห่งภาคตะวันตก เนื่องจากใกล้ กทม.

ภาคธุรกิจที่สำคัญต่อเศรษฐกิจจังหวัด: 

ภาคบริการ>
ภาคเกษตรกรรม>
ภาคอุตสาหกรรม

รายได้ครัวเรือนส่วนใหญ่มาจากการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง และอุตสาหกรรม 

เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยวทางทะเล

ภาคอุตสาหกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัด
calendar
 
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: ผลกระทบ 5 ด้านหากอ่าวไทยยังปั่นป่วน

เกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร

  • เกิดปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วม ปาล์ม ยางพารา ไม้ผล  และพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ ล้มตาย
  • ในหน้าแล้งน้ำเค็มบุกรุกพื้นที่การเกษตร (แต่ส่งผลให้พื้นที่ประมงเพิ่มขึ้น)

ประมง

  • ฤดูกาลแปรปรวน
     
    • อากาศร้อนขึ้น 
    • ฝนตกชุกมากขึ้น 
    • ความเค็มของน้ำทะเลเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อสภาพที่อยู่อาศัยและชีวิตสัตว์น้ำ
    • เกิดโรคระบาดสัตว์น้ำ
  • ทิศทางลมแปรปรวน 
     
    • จับสัตว์น้ำได้น้อยลง 
    • มรสุมทำให้ออกเรือทำประมงลำบาก 
    • ชาวประมงต้องหันไปประกอบอาชีพอื่น

การท่องเที่ยว

  • มรสุมถี่ขึ้น ฤดูกาลเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อการวางแผนท่องเที่ยว
  • น้ำทะเลกัดเซาะแหล่งธุรกิจท่องเที่ยวชายฝั่งและป่าชายหาด

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

  • การกัดเซาะชายฝั่งส่งผลต่อระบบนิเวศชายหาด 
  • มรสุมมีความรุนแรงและถี่ขึ้น 
  • ฤดูแล้งยาวนานขึ้น
  • อุณหภูมิสูงขึ้น ฝนตกหนัก ส่งผลให้น้ำหลากและน้ำจืดไหลลงสู่ทะเลในปริมาณมากขึ้น 
  • สัตว์น้ำในทะเลและป่าชายเลนมีจำนวนลดลง และมีปัญหาด้านการเจริญเติบโต

การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์

  • น้ำทะเลหนุนสูงและคลื่นลมรุนแรงส่งผลให้น้ำท่วมบ้านเรือน 
  • น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง
text
 
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: อ่าวไทยอาจรวนยิ่งขึ้นกับสภาพอากาศสุดขั้วในปี 2100

ปัญหาที่อาจเกิด

ผลกระทบ

อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง 

อุณหภูมิในช่วงฤดูแล้งสูงขึ้น ส่งผลต่อการเกษตร ทรัพยากรน้ำ สุขภาพของมนุษย์ การเพาะปลูก

รูปแบบของฝนเปลี่ยนแปลง 

ปริมาณฝนตกเพิ่มขึ้น น้ำท่วมและดินถล่มถี่ขึ้น สร้างความเสียหายต่อสาธารณูปโภคและชุมชน 

 

ฤดูแล้งแห้งขึ้น ขาดแคลนน้ำ ส่งผลต่อพื้นที่การเกษตร

ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 

 

น้ำเค็มรุกล้ำเข้ามามากขึ้น น้ำกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงขึ้น อุทกภัยในช่วงพายุเกิดถี่ขึ้น

 

ชุมชนชายฝั่งและระบบสาธารณูปโภคได้รับผลกระทบโดยตรง

 

สภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว 

 

พายุรุนแรงขึ้น ส่งผลต่อทรัพย์สิน อาชีพ และความปลอดภัยของชุมชน โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ตามแนวชายฝั่ง

diagram
 
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: ผู้หญิงกับผลกระทบโลกรวนต่อชายฝั่ง

ภาวะโลกรวนเกี่ยวข้องกับเพศอย่างไร?

​​ภาวะโลกรวนส่งผลกระทบต่อทุกคน แต่ผู้หญิงเผชิญกับผลกระทบรุนแรงเป็นพิเศษ เพราะถูกความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ร่วมซ้ำเติม

ภาวะโลกรวนคือ “ตัวทวีคูณภัยอันตราย” สำหรับผู้หญิง

ผู้หญิงทำงานในภาคส่วนที่เปราะบางต่อภาวะโลกรวน อาทิ ภาคเกษตร 

 

  • 43% ของแรงงานในภาคเกษตรเป็นผู้หญิง

ในปี 2025 ผู้หญิงกว่า 240 ล้านคนทั่วโลกอาจต้องเผชิญปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร

 

ผู้หญิงกว่า 7 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออก & อาเซียนจะเผชิญกับความอดอยาก

แต่ผู้หญิงไม่ใช่แค่ผู้ประสบภัยเท่านั้น ผู้หญิงยังเป็นผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง ใช้ธรรมชาติตั้งรับ ปรับตัวตามภาวะโลกรวน

แม่หญิงริมฝั่งอ่าวไทยกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ

  • ผู้หญิงชุมชนแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี ส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน
  • ผู้หญิงชุมชนปากน้ำประแสร์ จ.ระยอง รณรงค์ด้านการเพิ่มรายได้ให้ชุมชน การอนุรักษ์ธรรมชาติ การจัดการขยะปฏิกูล
  • ผู้หญิงชุมชนหาดม่วงงาม จ.สงขลา เคลื่อนไหวต่อต้านกำแพงกันคลื่นและช่วยกันดูแลหาดทราย

หากเราต้องการลดผลกระทบจากภาวะโลกรวน แผนการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศควรครอบคลุมมิติทางเพศและให้ผู้หญิงมีอำนาจตัดสินใจในแผนการปรับตัวมากขึ้น

website
 
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: ระยอง - เพชรบุรี กับแนวทางการแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นฐาน (Nature-Based Solutions)
 

ระยอง

เพชรบุรี

การดูแล-เพิ่มพื้นที่ป่า

อนุรักษ์น้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ ปลูกป่าชายเลน และทรัพยากรป่าไม้ 



 

การพัฒนาทรัพยากรน้ำ

อนุรักษ์ทรัพยากรพืชและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสัตว์น้ำ (ธนาคารปูม้า) เพื่อเพิ่มรายได้จากการประมง

 

บำบัดน้ำเสีย

 

เพิ่มประสิทธิภาพการจัดหาน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง (สร้างอ่างเก็บน้ำและสถานีสูบน้ำ)

 

การสนับสนุนการท่องเที่ยว

สร้างศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว

 



 

การจัดการขยะ

จัดการขยะมูลฝอยและการทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ

ลดขยะมูลฝอยและการทำความสะอาดพื้นที่ส่วนกลาง

การเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชน

เสริมสร้างขีดความสามารถในการมีส่วนร่วมของชุมชนและส่งเสริมความตระหนักรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (ฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การคัดแยกขยะในครัวเรือน)

วิจัยและพัฒนาด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 

 

ส่งเสริมศักยภาพเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการ/พัฒนาวิสาหกิจชุมชน (ฝึกอบรมการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน)

 

ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสัตว์น้ำ (จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรม)

 

timeline
 
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: สุราษฎร์ธานี - สงขลา กับแนวทางการแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นฐาน (Nature-Based Solutions)
 

สุราษฎร์ธานี

สงขลา

การดูแล-เพิ่มพื้นที่ป่า



 

โครงการปลูกป่าชายทะเล 

 

ขยายพื้นที่สีเขียวในชุมชน

การพัฒนาทรัพยากรน้ำ

โครงการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่ง (ป้องกันการประมงผิดกฎหมายและการทำลายทรัพยากรทางน้ำ)

 

โครงการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (เพิ่มภูมิคุ้มกันหรือ resilience ให้ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง)

 

อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ (กระตุ้นประชากรปลา)

 

โครงการฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ 

 

โครงการพัฒนาประมงชุมชน (กระตุ้นประชากรปูสีฟ้า)

 

โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร

การสนับสนุนการท่องเที่ยว

โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (อำเภอไชยา) 

 

พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมไมซ์*

*ไมซ์ = MICE (Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions)

โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว 

 

 

การจัดการขยะ

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะ 

 

การเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชน

  
timeline
 
ภาวะโลกรวนต่อชายฝั่ง: เรียนรู้ประสบการณ์ 4 จังหวัดริมฝั่งอ่าวไทย

เช็คลิสต์สิ่งจำเป็นสำหรับแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

      1

เน้นการปรับตัวด้วยการสร้างเสริมความแข็งแรงทนทานให้กับ “โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว” (ธรรมชาติ) แทนที่จะพึ่งพิงโครงสร้างพื้นฐานสีเทา (สิ่งก่อสร้าง) เพียงอย่างเดียว

 

    2

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศควรสอดแทรกอยู่ในทุกภาคส่วน ในทุกๆ มิติ

 

    3

ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการปรับตัว โดยเฉพาะกลุ่มคนชายขอบ & กลุ่มเสี่ยง เช่น คนจนในจังหวัด กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้หญิง ผู้มีความหลากหลายทางเพศ 

 

    4

จัดเตรียมมาตรการปรับเปลี่ยนอาชีพ-วิถีชีวิตใหม่สำหรับประชากรที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

      5

มีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับตำบลจนไปถึงระดับประเทศ

 

      6

แผนการปรับตัวจำเป็นต้องมีความยั่งยืน

  • มีเป้าหมายในระยะยาว 
  • มีแผนบริหารงบประมาณสำหรับการปรับตัวในระยะยาว
 

 

แม้การปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศจะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ถ้าเริ่มลงมือทำแล้ว เราทำให้ดีขึ้นได้เสมอ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเริ่มพัฒนาแผนงานที่ทำให้เห็นว่าควรจะเดินหน้าต่ออย่างไรโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ที่มา:

Food and Agriculture Organization (FAO): The role of gender in Climate-Smart Agriculture
United Nations: Why women are key to climate action
Thailand’s Fourth National Communication
โครงการการสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งตามแนวอ่าวไทย