เปิดตัวชุดคู่มือส่งเสริมความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยกในสถานที่ทำงานสำหรับธุรกิจไทย

May 29, 2024

 

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 28 พฤษภาคม 2567 โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สถานเอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Workplace Pride ร่วมมือกันพัฒนาและเปิดตัวชุดเครื่องมือที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความหลอมรวมครอบคลุมในภาคธุรกิจไทย งานเปิดตัวดังกล่าวที่จัดขึ้นในวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างทั้งสี่องค์กรกร์ และโดยเป็นการผสานรวมความเชี่ยวชาญหลายด้านเพื่อพัฒนาชุดเครื่องมือมาสนับสนุนธุรกิจไทยในการสร้างและส่งเสริมสถานที่ทำงานที่โอบรับความหลากหลายและความเท่าเทียม 

ชุดคู่มือนี้ใช้ชื่อว่า "คู่มือเรียนรู้วิธีสร้างการมีส่วนร่วมสำหรับองค์กรและภาคธุรกิจ" เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ มีกลยุทธ์และแนวปฏิบัติเพื่อในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ทุกคนรู้สึกมีคุณค่า ได้รับความเคารพ ตลอดจนเกื้อหนุนให้แต่ละปัจเจกบุคคลสามารถมีมุมมองและส่วนร่วมในการทำงานได้อย่างเต็มที่ งานวิจัยของ UNDP เมื่อปี 2562 เกี่ยวกับประสบการณ์ การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย เผยให้เห็นว่า โอกาสในการจ้างงานสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยอาจถูกจำกัดเนื่องจากการตีตรา การเลือกปฏิบัติ และความเหลื่อมล้ำทางด้านแตกต่างของสถานะสุขภาพที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งชุดเครื่องมือนี้จะช่วยสนับสนุนให้ภาคเอกชนสามารถขับเคลื่อนและส่งเสริมให้เกิดสังคมที่ครอบคลุม ปราศจากการเลือกปฏิบัติและกีดกันกลุ่มใดใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของการจ้างงานมากกว่าครึ่งหนึ่งในของประเทศไทยนั้นอยู่ในภาคเอกชน

 

“หัวใจสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนอยู่ที่การไม่แบ่งแยก” คุณเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยกล่าว “การสนับสนุนให้เกิดความหลากหลายในสถานที่ทำงาน ไม่เพียงขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังสร้างสังคมที่โอบรับคนทุกกลุ่มมากขึ้นด้วย”

ประเทศแคนาดามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความหลากหลายและการไม่แบ่งแยกทั่วโลก คุณปิง กิดนิกร เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย เน้นย้ำถึงความสำคัญของการผสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง “เมื่อร่วมมือกันแล้ว เราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์อย่างที่ยั่งยืน โดยที่ทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างมีได้รับเกียรติและได้รับความเคารพ และทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสได้อย่างเท่าเทียมไม่ว่าในบริบทใด ทั้งภายในบริษัทและในสังคม”

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านความเชี่ยวชาญในการส่งเสริมความเป็นผู้นำและนวัตกรรม ตอกย้ำบทบาทของชุดเครื่องมือในการขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร “ความหลากหลายช่วยขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม” ดร. เอียน เฟนวิค ผู้อำนวยการศศินทร์กล่าว "หากมีเครื่องมือและแนวปฏิบัติของสถานที่ทำงานที่เหมาะสม ธุรกิจต่าง ๆ จะสามารถปลดล็อกศักยภาพสูงสุดของพนักงานและขับเคลื่อนการเติบโตที่ยั่งยืน แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อทุกคนรู้สึกปลอดภัยและมีส่วนร่วมเท่านั้น"

Workplace Pride ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระดับโลกเพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีความหลากหลายทางเพศในที่ทำงาน เน้นย้ำถึงความสำคัญของชุดเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร “การหลอมรวมมีส่วนร่วม ไม่ใช่แค่แนวคิดเท่านั้น แต่มันคือเจตนารมณ์” Paul Overdijk ผู้ร่วมก่อตั้ง Workplace Pride กล่าว "การเปิดรับความหลากหลายในทุกรูปแบบ จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ทุกคนสามารถเติบโตได้อย่างแท้จริง"

 

ในงานเปิดตัวยังมีการเสวนา ที่มีการแบ่งกลุ่มเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ตลอดจนได้พบปะภาคีเพื่อสร้างเครือข่าย โดยการเสวนาจะส่งต่อข้อมูลเชิงลึกอันเป็นประโยชน์สำหรับผู้เข้าร่วมในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่มในบริษัท

คู่มือเรียนรู้วิธีสร้างการมีส่วนร่วมสำหรับองค์กรและภาคธุรกิจชุดเครื่องมือสำหรับธุรกิจไทยนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียมของประเทศไทยที่จะนำไปสู่ การที่ธุรกิจต่าง ๆ ทั่วประเทศเปิดรับความหลากหลายและปฏิเสธการแบ่งแยกของธุรกิจต่าง ๆ ทั่วประเทศ และความริเริ่มนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกสำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไป

ชุดเครื่องมือสำหรับธุรกิจไทยนี้ถูกปรับมาจากชุดเครื่องมือของ Workplace Pride ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยปรับให้เหมาะกับบริบทของไทย ชุดคู่มือนี้จัดทำขึ้นมีแปลสองภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยครอบคลุมหัวข้อสำคัญสี่หัวข้อที่จำเป็นสำหรับการส่งเสริมการไม่แบ่งแยกในที่ทำงาน: ตัวอย่างเชิงธุรกิจจากการมีส่วนร่วมของผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTI Business Case) ในสถานที่ทำงานที่ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมและเพิ่มผลการดำเนินงานของบริษัท การพัฒนานโยบายทรัพยากรบุคคล (HR Policy) เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของบริษัทได้อย่างเท่าเทียม โครงการฝึกอบรมและสร้างความตระหนักรู้ (Training and Awareness Raising) และการพัฒนาระเบียบปฏิบัติกฎเกณฑ์ (Code of Conduct) เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม นอกจากนี้ ชุดเครื่องมือยังนำเสนอการประเมินตนเองอย่างเร็วสำหรับบริษัท เพื่อกำหนด "ระดับความพร้อม" ของตน ไม่ว่าจะเป็นระดับเริ่มต้น ( Launcher) กำลังพัฒนา (Accelerator) หรือมีความเชียวชาญ (Champion) โดยการประเมินจะช่วยให้บริษัทสามารถระบุว่ายังต้องปรับปรุงในเรื่องใด ยิ่งไปกว่านั้น ชุดเครื่องมือยังมีแบบฝึกหัดพิเศษอีกกว่า 25 บทสำหรับผู้นำธุรกิจและผู้บริหารองค์กรอีกด้วย โดยทั้งสี่หัวข้อสำคัญในชุดเครื่องมือประเด็นนี้จะช่วยให้บริษัทสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกคน ไม่ว่าจะมีวิถีทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ หรือการแสดงออกทางเพศอย่างไร ก็สามารถได้รู้สึกว่าตนมีคุณค่า ได้รับความเคารพ และสามารถมีส่วนร่วมในการทำงานได้อย่างเต็มที่ 

ภายหลังการเปิดตัวชุดเครื่องมือนี้ องค์กรพันธมิตรทั้งสี่หน่วยงานจะร่วมกันจัดฝึกอบรมทั่วประเทศ ให้แก่บริษัททุกขนาด รวมทั้งนอกจากนี้ จะมีการพัฒนาชุดเครื่องมือเพิ่มเติม เพื่อครอบคลุมหัวข้อสำคัญอื่น ๆ ที่ระบุไว้ในชุดเครื่องมือของ Workplace Pride เช่น เครือข่ายพนักงาน (Employee Network) การพัฒนาผู้นำองค์กร (Leadership Development) และ การสนับสนุน (Advocacy) 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีใช้และดาวน์โหลดคู่มือได้ที่