
กรุงเทพฯ 20 กุมภาพันธ์ 2568 - Thailand Policy Lab ห้องปฏิบัติการนโยบายที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ก้าวสู่ปีที่ 4 พร้อมการจัดงาน Policy Innovation Exchange 5 (PIX5)
ในงานนี้ได้เปิดตัวหนังสือคู่มือ ที่กลั่นกรองและรวบรวมบทเรียนจากการทดลอง การดำเนินงาน และการสร้างขีดความสามารถของ Thailand Policy Lab ด้านนวัตกรรมนโยบาย ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เพื่อส่งต่อองค์ความรู้สู่การนำไปปฏิบัติ จำนวน 2 เล่ม ได้แก่
- Policy Innovation Handbook – นำเสนอแนวคิด Public Policy Process Reimagined: 8 Elements in Action ที่เน้นการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ (Systemic Intervention) และรวบรวมเครื่องมือนวัตกรรมนโยบาย สไตล์ Thailand Policy Lab เพื่อให้กระบวนการนโยบายสามารถรับมือกับความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Policy Hackathon Handbook – อธิบายแนวทางปฏิบัติสำหรับ การออกแบบนโยบายแบบแฮกกาธอนสร้างนโยบาย เพื่อใช้วิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ผ่านกระบวนการแฮกกาธอน (Hackathon Approach)
จากประสบการณ์การทำงานตลอด 4 ปีที่ผ่านมา Thailand Policy Lab ได้พัฒนาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหานโยบายที่ซับซ้อนในหลามิติ เช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การวางแผนพัฒนาประชากรและเตรียมรับมือสังคมสูงวัย และสุขภาพจิตของเยาวชน โดยใช้แนวคิดที่ให้ ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงมีบทบาทสำคัญในการออกแบบนโยบาย ซึ่งช่วยให้แนวทางแก้ไขที่พัฒนาขึ้น ตอบโจทย์อนาคตและสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ได้อย่างแท้จริง
ตัวอย่างความสำเร็จที่สำคัญ ได้แก่:
- สร้างระบบประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทั่วถึง มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ยั่งยืน และโปร่งใส – ใช้เครื่องมือ การคาดการณ์อนาคต (Foresight) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และการออกแบบบริการ (Service Design) เพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติราชการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 5 พ.ศ.2566-2570 (ประกาศใช้ในเดือนตุลาคม 2565)
- นโยบายด้านการศึกษาและสุขภาพจิตเยาวชน – เปิดโอกาสให้ เยาวชนและผู้ใช้นโยบาย มีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบายร่วมกัน นำไปสู่ การพัฒนามาตรการสนับสนุนสุขภาพจิตในโรงเรียน
- การรับมือปัญหาอัตราการเกิดลดลงและสังคมสูงวัย – ใช้การมีส่วนร่วมของกลุ่มประชากรหลากหลาย ผ่านการจัดกิจกรรมการรับฟังเสียงอย่างสร้างสรรค์ และ Focus Group เพื่อรับฟังแนวคิดเรื่องครอบครัวของคนรุ่นใหม่ และออกแบบนโยบายที่สอดคล้องกับโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลง

คุณนีฟ คอลิเออร์-สมิธ, ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย
คุณนีฟ คอลิเออร์-สมิธ (Niamh Collier-Smith), ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย ได้กล่าวถึงงานนี้ว่า "ที่ UNDP เรามุ่งมั่นสร้างพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ที่ทันต่อเวลา การทดสอบแนวคิดใหม่ ๆ และการพัฒนาแนวทางแก้ไขที่สร้างผลกระทบเชิงบวก รวมไปถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ในระดับท้องถิ่น ที่คำนึงถึงบริบทของประเทศและชุมชนที่นโยบายเหล่านั้นมุ่งให้บริการ ทั้งนี้ขอชื่นชมวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของรัฐบาลไทยในการจัดตั้ง Thailand Policy Lab ร่วมกับ UNDP เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทผู้นำของประเทศไทยในด้านนวัตกรรมนโยบายได้อย่างชัดเจน” “แนวทางการออกแบบนโยบายแบบดั้งเดิมที่เป็นทางเดียว อาจไม่สามารถตามทันต่อโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและซับซ้อนในปัจจุบันได้ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการลงทุนของ Thailand Policy Lab ในการพัฒนาแนวทางการทำงานใหม่ ๆ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง UNDP มีความยินดีที่ได้เป็นพันธมิตรสำคัญในความร่วมมือนี้ และเราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเดินหน้าต่อยอดความร่วมมือที่สำคัญนี้ต่อไป"

ุคุณสุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ, ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และนวัตกรรมนโยบายสาธารณะ,สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
คุณสุริยนต์ ธัญกิจจานุกิจ, ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และนวัตกรรมนโยบายสาธารณะ,สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวถึงงานนี้ว่า ”PIX5 ไม่ใช่แค่งานเสวนา แต่เป็นพื้นที่สำหรับทุกภาคส่วนในสังคม ได้มาร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และออกแบบกระบวนการพัฒนานวัตกรรมนโยบาย ที่ตอบโจทย์ประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต งานนี้ถ่ายทอดบทเรียนและประสบการณ์จากการทำงานของ Thailand Policy Lab ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันคิด และออกแบบแนวทางใหม่ที่จะผลักดันให้กระบวนการนโยบายสาธารณะของสามารถสร้างนโยบายที่เท่าทันโลกและสะท้อนความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง"
Thailand Policy Lab ก่อตั้งขึ้นในปี 2563 โดย UNDP และ สศช. และยังคงเดินหน้า พัฒนานวัตกรรมนโยบาย โดยใช้แนวทางสำคัญ ได้แก่ Thinking in Systems – คิดเชิงระบบ, People-Centered Approach – ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง, Learning-Oriented Process – เน้นการเรียนรู้และปรับตัว, Action-Oriented Strategies – ลงมือทำเพื่อสร้างผลลัพธ์ และยังคงมุ่นมั่นเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมนโยบาย เพื่อพลิกโฉมกระบวนการนโยบายสาธารณะของไทย ส่งเสริมการเรียนรู้ของนวัตกร และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนานโยบายที่ทันยุคทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน และครอบคลุมถึงคนทุกกลุ่ม ดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
อ่านและดาวน์โหลดหนังสือ ได้ที่:
Thailand Policy Lab Handbook (ภาษาไทยและภาษอังกฤษ): https://thailandpolicylab.com/thailand-polic-lab-handbook/
Policy Hackathon Playbook
(ภาษาไทยและภาษอังกฤษ): https://thailandpolicylab.com/policy-hackathon-playbook/
###
ติดต่อสื่อมวลชน
ฑิฟฟาณี เชน
Policy Experimentation Analyst
อีเมล์: tiffany.chen@undp.org
กานท์กลอน รักธรรม
Head of Communications
อีเมล์: karnklon.raktham@undp.org