การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ใช่เพียงเรื่องของประเทศใด แต่คือการแก้ไขร่วมกันจากประชาคมโลก

June 4, 2024
โลกร้อนเป็นปัญหาใหญ่ไร้พรมแดนกั้น

ในระดับโลกการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อทุกคน แต่ประเทศยากจนและกลุ่มเปราะบางจะเป็นกลุ่มที่เผชิญกับผลกระทบรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น ด้วยปัจจัยทางทรัพยากรธรรมชาติ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ด้านความยากจน ในปีพ.ศ. 2573 ประชากรมากกว่า 100 ล้านคนอาจเผชิญความยากจนขั้นรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และประชากร 200 ล้านคนอาจพลัดถิ่นจากภัยธรรมชาติจากสภาพอากาศรุนแรงที่เพิ่มขึ้น ด้านความมั่นคงทางอาหารในปีพ.ศ. 2564 ประชากรกว่า 783 ล้านคนเผชิญความหิวโหยอย่างต่อเนื่อง และหากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 2 องศาจะมีประชากรอีก 189 ล้านคนที่ถูกผลักให้เผชิญความหิวโหย การพลัดถิ่น ในปีพ.ศ. 2565 ผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัย 84% ลี้ภัยจากประเทศที่เปราะบางต่อสภาพอากาศ และด้านที่อยู่อาศัย เมืองชายฝั่งจำนวนมากที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคนกำลังเผชิญความเสี่ยงเพราะพื้นที่เมืองมากกว่า 90% นั้นเป็นพื้นที่ชายฝั่ง 

 
โลกร้อนส่งผลต่อทุกคน แต่ผลกระทบแต่ละประเทศรุนแรงไม่เท่ากัน 

จากวิกฤติดังกล่าวทั่วโลกจึงหารือกันผ่านเทีเจรจาที่มีชื่อว่า COP จึงมีการจัดเวทีเจรจาต่อรองที่เป็นที่รู้จักในชื่อ COP เพื่อให้นานาชาติตั้งเป้าหมายที่ตรงกันและเป็นเครื่องมือนำเสนอปัญหาของแต่ละประเทศในระดับโลก  การประชุม COP สมัยที่ 26 มีความเชื่อมโยงกับความตกลงปารีสที่มีเป้าหมายสำคัญคือการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส และมุ่งเป้าไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส และเร่งระดมเงินทุนจากภาครัฐและภาคเอกชนระหว่างปี พ.ศ. 2563-2568 ให้ได้ปีละ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ  จากการประชุม COP26 ประเทศไทยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเป็น 40% ภายในปี พ.ศ. 2573 ในปัจจุบันประเทศไทยมีแผนงานระดับชาติในการแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจกและความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก การเก็บข้อมูลของประเทศไทยมีความสำคัญในการเจรจาในเวทีโลก เช่น COP เพราะแม้ว่าสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยน้อยกว่า 1% ของทั้งโลก แต่ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 10 ประเทศ ที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 
ประเทศไทยต้องการการสนับสนุนอะไรบ้างจากประชาคมโลก

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ประเทศไทยยังต้องการความช่วยเหลือทั้ง 3 ด้านจากต่างประเทศ ได้แก่

1. แผนการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย เช่น  การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานไปยังเทคโนโลยีด้านพลังงานหมุนเวียน การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า  กรีนดีเซล หรือน้ำมันดีเซลชีวภาพสังเคราะห์ และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการดินและมูลสัตว์ และการลดการใช้น้ำและการใช้ระบบน้ำหมุนเวียน 

2. ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การพัฒนาแผนที่ข้อมูลแสดงพื้นที่เสี่ยงและผลกระทบ และการจัดตั้งศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับการปรับตัว ข้อมูลงานวิจัย งานวิจัยด้านสภาพอากาศ และข้อมูลการพยากรณ์อากาศ และ 

3. ด้านการสร้างขีดความสามารถ สร้างศักยภาพให้ภาครัฐและเอกชนมีแผนงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีกลไกทางการเงิน การสร้างแรงจูงใจ และแนวทางดำเนินการในการมีส่วนรวมของภาคเอกชนให้หันมาลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อม  

 
โลกร้อนส่งผลถึงใคร? ชวนมองเทรนด์ประชากรในอนาคต

ผู้หญิง และเด็กผู้หญิง Women and girls 

ในปี พ.ศ. 2568  ผู้หญิงมากกว่า 240 ล้านคน จะตกอยู่ในภาวะความความไม่มั่นคงทางอาหาร นอกจากนี้ในภูมิภาคอาเซียน ผู้หญิงมากกว่า 7 ล้านคนจะตกอยู่ในภาวะความอดอยาก ขณะที่ผู้หญิงมากกว่า 24 ล้านคนจะตกอยู่ในภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารเพราะผู้หญิง และเด็กผู้หญิงยังเจอข้อจำกัด เช่น การเข้าถึงการศึกษามีคุณภาพ  การต้องออกจากระบบการศึกษาและหันมาทำงานด้านเกษตรกรรมที่ถูกกระทบโดยโลกร้อน หรือ ต้องเลี้ยงดูบุตร ไม่สามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้ 

 

ผู้มีรายได้น้อย Low-income citizens 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคุกคามความมั่นคงของมนุษย์ โดยในอีก 4 ปีข้างหน้า ในปีพ.ศ.  2573 ประชากรกว่า 130 ล้านคนจะตกอยู่ในความยากจนเพราะโลกร้อน รวมถึงการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ความไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิต และการพลัดถิ่นของคนจำนวนมาก 

 

ความเป็นธรรมทางภูมิอากาศ Climate Justice

เด็ก เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยที่สุด แต่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด และกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของโลกกว่า 80% เผชิญความเสี่ยงต่อการใช้ชีวิต และวัฒนธรรมจากผลของโลกร้อน