ภาคเกษตรกรรม มีส่วนต่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ และมีส่วนสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงทางอาหารของโลกใบนี้ ภาคเกษตรกรรมเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของโลกที่คอยอุ้มชูความอยู่ดีกินดีของมนุษย์ ถึงอย่างนั้น ภาคส่วนนี้เองก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเป็นจำนวนมาก
หากเราดูในระดับโลก ภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคือ ภาคพลังงาน 34% (20 GtCO2-eq) ภาคอุตสาหกรรม 24% (14 GtCO2-eq) ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ การใช้ที่ดิน 22% (13 GtCO2-eq) ภาคขนส่ง 15% (8.7 GtCO2-eq) และ ภาคอาคาร 6% (3.3 GtCO2-eq) โดยที่ภาคเกษตรกรรมปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 3 ของโลก หากดูข้อมูลของประเทศไทย ภาคส่วนต่างๆ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามลำดับดังนี้ ภาคพลังงาน 65.89% (254,307.21 เทียบเท่า CO2) ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ การใช้ที่ดิน 17.86% (68,933.74 เทียบเท่า CO2) ภาคอุตสาหกรรม 10.50 % (40,527.22 เทียบเท่า CO2) และ ภาคของเสีย 5.75% (22,172.97 เทียบเท่า CO2)

Global Greenhouse Gas Emissions
หากเราดูในระดับโลก ภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคือ ภาคพลังงาน 34% (20 GtCO2-eq) ภาคอุตสาหกรรม 24% (14 GtCO2-eq) ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ การใช้ที่ดิน 22% (13 GtCO2-eq) ภาคขนส่ง 15% (8.7 GtCO2-eq) และ ภาคอาคาร 6% (3.3 GtCO2-eq) โดยที่ภาคเกษตรกรรมปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 3 ของโลก หากดูข้อมูลของประเทศไทย ภาคส่วนต่างๆ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามลำดับดังนี้ ภาคพลังงาน 65.89% (254,307.21 เทียบเท่า CO2) ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ การใช้ที่ดิน 17.86% (68,933.74 เทียบเท่า CO2) ภาคอุตสาหกรรม 10.50 % (40,527.22 เทียบเท่า CO2) และ ภาคของเสีย 5.75% (22,172.97 เทียบเท่า CO2)

Greenhouse Gas Emissions by Sector
ในปี พ.ศ. 2560 ปริมาณคาร์บอนจากภาคเกษตรกรรม คิดเป็น 20% ของคาร์บอนจากกิจกรรมมนุษย์ทั้งหมด และภาคเกษตรกรรมทั้งโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจก 9.3 พันล้านตัน CO2 โดยในจำนวนเหล่านั้น 5.3 พันล้านตัน มาจากกิจกรรมการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ 3 พันล้านตัน มากระบวนการเลี้ยงสัตว์ เช่น กระบวนการย่อยอาหารของสัตว์ กระบวนการย่อยสลายของมูลสัตว์ 4 พันล้านตัน มาการใช้ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน 2.9 พันล้านตัน มาจากการตัดไม้ทำลายป่า และ 1 พันล้านตัน มาจากการระบายน้ำและการเผาอินทรียวัตถุในดิน แต่ถึงอย่างนั้น สัดส่วนคาร์บอนจากภาคเกษตรกรรมก็ลดลงเรื่อยๆ จากร้อยละ 29 ในปี พ.ศ. 2533 เป็นร้อยละ 25 ในปี พ.ศ. 2543 และลดลงเป็นร้อยละ 20 ในช่วงปี พ.ศ. 2553-2560
สำหรับภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 ภาคเกษตรกรรมของไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจก 58,486.02 GgCO2eq โดยกว่าครึ่งของก๊าซเรือนกระจกมาจากการปลูกข้าว 29,990.25 GgCO2eq (ร้อยละ 51.28) อันดับสองมาจากก๊าซที่ปล่อยออกมาจากระบบย่อยอาหารของสัตว์ 10,052 GgCO2eq (ร้อยละ 17.19) และกิจกรรมทางการเกษตรอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปุ๋ยยูเรีย ปูนขาว การเผาไร่ ต่างก็ส่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาทั้งสิ้น
ภาคเกษตรกรรมปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีความจำเป็นยิ่งต่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทยและคนทั่วโลก เราจึงต้องหาทางออกที่ยั่งยืนให้เกษตรยังชีพได้และในขณะเดียวกันโลกก็ไปต่อได้ เราต้องหาหนทางการทำเกษตรกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และในขณะเดียวกันก็ช่วยให้เกษตรกรมีศักยภาพในการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้โลกนี้มีความยั่งยืนทางอาหาร นั่นก็คือ เราต้องหันมาหาเกษตรกรรมยั่งยืน ที่ส่งเสริมทั้งความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีพของเกษตรกร เกษตรกรรมยั่งยืนนั้นทำได้หลายแบบ เช่น แทนที่จะเผาใบอ้อย ที่ทั้งปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นพิษต่อสุขภาพ ก็หันมาใช้ใบอ้อยเป็นวัสดุคลุมดิน หรือนำใบอ้อยไปทำเป็นอาหารสัตว์แทนการเผา แทนที่จะใช้ปูนขาว ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยสังเคราะห์ ซึ่งล้วนมีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ก็หันมาใช้มูลสัตว์และปุ๋ยหมัก และปลูกพืชหมุนเวียน หรือแม้แต่การเปลี่ยนสูตรอาหารวัวเพื่อให้การย่อยอาหารของวัวปล่อยมีเทนน้อยลง
การพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร การวิจัย และการพัฒนาทักษะของบุคลากรการเกษตรจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพื่อหาทางเลือกที่ดีกว่า เพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน ดังแนวการพัฒนาที่ปรากฏอยู่ในแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2566-2570 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะช่วยให้ภาคเกษตรกรรมไทยก้าวต่อไปอย่างยั่งยืนและพร้อมปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
ที่มา:
- GHG emissions of all world countries (EU, 2024),
- Greenhouse gas emissions by country and sector (infographic)(EU, 2023)
- Emissions Trends and Drivers (IPCC),
- Thailand’s First Biennial Transparency Report (2024)
- The share of agriculture in total greenhouse gas emissions: Global, regional and country trends 1990–2017 (FAO, 2020)
- Emissions due to agriculture: Global, regional and country trends 2000–2018 (FAO, 2021)
- Thailand’s Fourth National Communication (2022)
ดาวน์โหลดแผนปฏิบัติการด้านการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ